แนวคิดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด

senate site

ผศ.ดร.บุญส่ง ไข่เกษ

ชาติกำเนิด
เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 ที่ ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นบุตรของนายเสรี-นางมะลิ ไข่เกษ

การศึกษา

จบปริญญาตรีวิทยาศาตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ.2514
จบปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิตและนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จบปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2519
จบปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา
จบปริญญาเอกวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จาก  Savole University ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2530

ประวัติการทำงาน

พ.ศ.2515 รับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าภาควิชา จนกระทั่งถึงปี 2537 จึงได้ลาออกจากราชการ
พ.ศ.2537 เข้าทำงานที่บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท ด้วย
ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์สอนที่คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนครราชสีมา และทำธุรกิจอยู่กับ บริษัท ครีเอทีพ เทคโนโลยี จำกัด เช่นเดิม

ประวัติการทำงานด้านการเมือง

พ.ศ.2544 ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2544
พ.ศ.2549 ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด เมื่อวันที่ 19 เมษายน แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ เพราเกิดรัฐประหารในเดือนกันยายน
พ.ศ.2553 ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3
พ.ศ.2557 ได้รับลงสมัครและได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตราด เป็นอีกหนึ่งคนที่สิ้นสุดการเป็นสมาชิกวุฒิสภาเนื่องจากการรัฐประหารเมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม 2557

การเลือกตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อปี พ.ศ.2551 ยังเคยลงสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ แต่แพ้การเลือกตั้งให้แก่คู่แข่ง

นอกจากนี้ ผศ.ดร.บุญส่ง ยังเป็นหนี่งในบุคคลที่อยู่ในกลุ่มต่อต้านระบบทักษิณอีกด้วย

ในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด ในธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร.บุญส่ง ไข่เกษได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่ทำการศึกษา EIA และ HIA ในโครงการใหญ่ๆ ที่สำคัญของประเทศหลายโครงการ เช่น โครงการทางด่วนพิเศษรามอินเทรา-วงแหวนรอบนอก โครงการเขื่อนแม่วงก์ โครงการเขื่อนผาจุก โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสะตอ โครงการประตูระบายน้ำปากพนัง เป็นต้น โดยเฉพาะในโครงการเขื่อนแม่วงก์ ผศ.ดร.บุญส่ง ได้เป็นผู้ออกมาชี้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลการทำ EIA ของเขื่อนแม่วงก์ด้วยตนเองในฐานะทีมงานและเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากมีการต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์จากบางกลุ่มและโจมตีผลการทำ EIA ของบริษัท