ปัญหาที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไทย

Senator Thai site

หากได้ลองทำการเปรียบเทียบรัฐ ธรรมนูญหลายๆฉบับที่ได้เคยใช้มาแล้วนั้น พบว่ารัฐธรรมนูญได้เริ่มให้มีวุฒิสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา โดยเริ่มต้นให้มาจากการแต่งตั้งจุดประสงค์ก็เพื่อที่จะสร้างความมั่นคงและ เสถียรภาพให้กับฝ่ายบริหาร ซึ่งเมื่อก่อนนั้นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่จึงเป็นนายทหาร ยศสูงๆหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แต่การที่ใช้วิธีการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาโดยการแต่งตั้งนั้นก็ได้ถูกวิพากษ์ วิจารณ์ว่าเป็นวิธีการที่ไม่โปร่งใสเนื่องจากผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีมักที่ จะทำการแต่งตั้งบุคคลของตนเองเข้ามารับตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาเพื่อเป็นฐาน อำนาจให้กับฝ่ายตนเองจึงทำให้วุฒิสภาได้ขาดความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆ จนเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี พ.ศ.2535 หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวประชาชนต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับการเมือง มากยิ่งขึ้น จึงทำให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นฉบับที่สมาชิกวุฒิสภานั้นมาจากการเลือกตั้ง

และหลังจากใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาก็กลับเกิดปัญหาเช่นกัน เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาตั้งหลายรายเป็นพรรคพวกเดียวกัน กับนักการเมืองที่มีอิทธิพลโดยบางรายได้เป็นเครือญาติกันก็มี ทำให้เมื่อคนเหล่านี้ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมักที่จะทำหน้าที่ที่เอื้อ ประโยชน์ให้พรรคพวกของตน จึงทำให้วุฒิสภาไม่สามารถทำการตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างเต็มที่นักจึงทำให้ เกิดความไม่โปร่งใสขึ้น

ฉะนั้นแล้วร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จึงได้มีการเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาเสียใหม่โดยให้มา จากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งผสมกันไปเพื่อที่จะขจัดปัญหาต่างๆไม่ว่าจะ เป็นในเรื่องความไม่โปร่งใส เอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้พวกพ้อง การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบให้หมดไป ซึ่งก็ได้นำมาใช้จนถึงในปัจจุบันแต่ก็ปรากฏว่าก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ดี ในกลุ่มที่เสียผลประโยชน์หลังจากที่เคยทำการกอบโกยหรือทำการทุจริตคอรัปชั่น กันมาจนเป็นเวลานานก่อนหน้านี้