สมาชิกวุฒิสภา มีวาระในการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 6 ปี นับตั้งแต่ได้ทำการเลือกตั้งเสร็จหรือได้ทำการสรรหาจนเสร็จ โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. หน้าที่ในกระบวนการนิติบัญญัติ
1.1 มีหน้าที่ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยต้องมีจำนวนของสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดทั้ง 2 สภา
1.2 มีหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการเห็นชอบมาจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร (ส.ส.) โดยต้องทำการพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 60 วัน แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินต้องทำการพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 30 วัน โดยสามารถขยายเวลาเพิ่มให้อีกไม่เกิน 30 วัน และถ้าหากครบกำหนดเวลาแล้วทางสมาชิกวุฒิสภายังทำการพิจารณาไม่เสร็จก็ให้ถือ ว่าได้เห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น
– เมื่อพิจารณาแล้วเห็นชอบ ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในระยะเวลา 24 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติมาจากสภา
– เมื่อพิจารณาแล้วไม่เห็นชอบ ให้ทำการระงับร่างพระราชบัญญัติไว้ก่อนแล้วส่งคืนกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร
– ถ้าหากมีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเมื่อทำการแก้ไขเสร็จแล้วให้ไป ยังสภาผู้แทนราษฎรและเมื่อทางสภาผู้แทนราษฎรเห็นด้วยกับการแก้ไขแล้วก็ให้ นายกรัฐมนตรีทำการนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในระยะเวลา 24 วัน
– ในกรณีที่ทางวุฒิสภาไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติหรือทำการแก้ไขแล้วไม่ ส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าวุฒิสภาได้เห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้นๆ
– หากสมาชิกวุฒิสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นแล้วเห็นว่าขัดต่อรัฐ ธรรมนูญ สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของทั้ง 2 สภาสามารถแจ้งต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญทำการวินิจฉัย
2. หน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร
2.1 สามารถทำการลงมติถอดถอนนักการเมืองที่มีการทุจริตคอรัปชั่นต่อหน้าที่หรือ ใช้อำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
2.2 สามารถทำการลงมติเห็นชอบผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ,คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ,ผู้ตรวจการแผ่นดิน ,คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และวุฒิสภาก็มีอำนาจที่จะถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรดังกล่าวได้เช่นกัน หากพบว่ามีการทำผิดต่อตำแหน่งและหน้าที่ ไม่เป็นธรรมและทำการทุจริต