รัฐธรรมนูญฉบับประชามติได้ถูก จัดทำขึ้นในปี พ.ศ.2550 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขในหลายส่วนด้วยกัน เช่น จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ต้องมาจากการเลือกตั้งจำนวน 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 400 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน (โดยแบ่งจังหวัดทั้งหมดเป็น 8 กลุ่ม) ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2555 ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนใหม่อีกครั้ง โดยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพิ่มเป็น 500 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน (เขตละ 1 คน) และมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มเป็น 125 คน
ส่วนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ส่วนที่เหลือจะถูกคัดสรรโดยคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งถูกก่อตั้งมาจากประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาและตุลาการในศาลปกครองสูงสุด โดยท่านคณะกรรมการเหล่านี้จะพยายามคัดสรรบุคคลผู้มีคุณวุฒิและมากด้วยความ สามารถเพื่อมาดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีวาระในการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 6 ปี เมื่อครบวาระจะมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 30 วันสำหรับสรรหาสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และสำหรับสมาชิกที่มาจากการสรรหาก็จะต้องทำการคัดสรรให้เสร็จภายในระยะเวลา 60 วัน โดย ส.ว.จะดำรงตำแหน่งในวาระติดต่อกันไม่ได้และส.ว.ที่เพิ่งพ้นจากวาระได้ไม่ถึง 2 ปี จะไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้
ซึ่งจากประวัติศาสตร์ของการ เมืองการที่ผ่านมานับตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นว่าบ้านเมืองของเรา ยังมีการคอรัปชั่นอย่างต่อเนื่องเป็นเพราะนักการเมืองส่วนหนึ่งมีความคิดที่ จะเข้ามากอบโกยเงินของประชาชนด้วยการโกงวิธีต่างๆและมักจะทำเป็นขบวนการ ซึ่งจุดเริ่มต้นก็คือการซื้อเสียงโดยมีการให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้มาเลือกตนพอผู้นั้นได้รับเลือกตั้งแล้วก็จะทำการถอนทุนคืนด้วยการ โกงนั่นเอง