รัฐสภาประเทศไทยเอาแบบอย่างมา จากสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและองคมนตรีสภาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วได้ถูกพัฒนาจนถึงในปัจจุบัน โดยหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 ได้มีรูปแบบเป็นสภาเดียวซึ่งก็คือสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยสมาชิกจะมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งในจำนวนเท่าๆกัน และพอมาถึงปี พ.ศ. 2489 ก็ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ของประเทศในขณะนั้นโดย ได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบสภาคู่ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และพฤฒสภา โดยหน้าที่ของพฤฒสภาก็คือการกลั่นกรองหรือพิจารณางานหรือกฎหมายต่างๆที่ทาง สภาผู้แทนราษฎรได้เสนอมาด้วยความถี่ถ้วนและรอบคอบ
โดยสมาชิกวุฒิสภานั้นมาจากการ เลือกตั้งโดยต้องมีคุณสมบัติที่สูงกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งทางด้านคุณวุฒิและทางด้านวัยวุฒิ ดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปี และได้เปลี่ยนชื่อจากวุฒิสภาเป็นวุฒิสภา (ส.ว.)เมื่อปี พ.ศ.2490 โดยอำนาจและหน้าที่ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปี พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ทางด้านการเมืองเพิ่มมากขึ้น และได้ให้มีองค์กรอิสระต่างๆไว้คอยตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อป้องกัน การทุจริตคอรัปชั่นต่างๆที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำโดยสามารถทำการถอดถอนนักการ เมืองหรือข้าราชการระดับสูงออกจากตำแหน่งได้ และที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)นั้นมาจากการเลือกตั้งโดยไม่ต้องมีการหาเสียงและไม่ต้องสังกัดพรรคการ เมืองใดๆจำนวน 200 คน ซึ่งเมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วยังคงมีหน้าที่เหมือนเดิมที่ผ่านมาและเป็น ฝ่ายที่คัดสรรบุคลที่เหมาะสมเข้ารับตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งหลังจากใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ก็ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากการถูกแทรกแซงขององค์กรอิสระต่างๆ และการที่ ส.ว. กับ ส.ส. ได้เป็นญาติกัน จึงทำให้การทุจริตคอรัปชั่นยังคงมีอยู่เรื่อยๆ ซึ่งต่อมาปี พ.ศ.2550 ก็ได้มาใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ